การต่อยอดความร่วมมือการทำงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ พร้อมความคืบหน้าโครงการ Tourism Data Intelligence Sandbox และการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต โดยข้อมูลขนาดใหญ่

การต่อยอดความร่วมมือการทำงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

พร้อมความคืบหน้าโครงการ Tourism Data Intelligence Sandbox

และการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต โดยข้อมูลขนาดใหญ่

 

                   เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องรายา ชั้น 2 เวลา 10.30 น. ณ โรงแรม Royal Phuket City นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เข้าร่วมงานแถลงข่าวโดยมอบโนบายการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต และข้อมูลขนาดใหญ่ในฐานะจังหวัดนำร่อง Tourism Data Intelligence Sandbox ซึ่งมี ผศ.คร.ชยานนท์ ภู่เจริญ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต, นายธเนศ ตันติพิริยะกิจ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต, นายภูมิกิตติ์ รักแต่งาม ประธานที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต, รศ.คร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ ร่วมในการแถลงข่าวและเสวนา ให้กับภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน ร่วมรับฟังและเข้าร่วมกิจกรรม

                   นายธเนศ ตันติพิริยะกิจ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า เนื่องจากระบบบริการข้อมูลอัจฉริยะด้านการท่องเที่ยว (Travel Link) เป็นการต่อยอดความร่วมมือการทำงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย การสนับสนุนข้อมูล เพื่อจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบบริการข้อมูลด้าน การท่องเที่ยวของทางภาครัฐ Tourism Data Intelligence Sandbox ให้มีความเป็นเอกภาพสะดวก เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งปัจจุบันมีความคืบหน้าอย่างมากแล้วโคยเฉพาะข้อมูลของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งในเฟสต่อไปนี้ จะทำการบูรณาการข้อมูลจากทั้งส่วนของ รร.4. คม.30 และ ข้อมูลของท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบให้กับโครงการ โดยเริ่มที่จังหวัดภูเก็ตเป็นที่แรก ทางสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตในฐานะผู้ประสานงานของโครงการ ได้เชิญหน่วยงานมาร่วมดำเนินการโครงการดังกล่าว เพื่อพัฒนาข้อมูลด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตต่อไป

                     ทางด้าน รศ.คร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ รายงานความคืบหน้าโครงการ Tourism Data Intelligence Sandbox และ ร่วมการเสวนา Why and How will Phuket succeed with Big Data?

                    รศ.คร.ธีรณี ยังได้เปิดเผยว่า สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต ด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานภูเก็ต โดยที่หน่วยงานแต่ละฝ่ายมีเจตนารมณ์ร่วมกันในการบูรณาการและแบ่งปันข้อมูล ด้านการท่องเที่ยวระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สำหรับดำเนินโครงการ Tourism Data Intelligence Sandbox โดยมีรายละเอียด มีดังต่อไปนี้.

                  ข้อ 1 วัตถุประสงค์ของบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เป็นไปอย่างรวดเร็วปลอดภัยและเป็นระบบ อีกทั้ง ยังเป็นการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเหลือการทำงานของผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวไทย ให้สามารถเข้าใจพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวและสามารถวางแผนต้อนรับนักท่องเที่ยวได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ในการส่งเสริมภาคธุรกิจท่องเที่ยวประเทศไทย มีดังนี้.

1.1 จัดทำระบบบริการข้อมูลกลางด้านการท่องเที่ยว(Tourism Data Services) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล และ/ หรือ แหล่งของ ข้อมูล ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อันจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการใช้ข้อมูล ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศ

1.2 จัดทำและพัฒนารายการข้อมูล (Data Catalog) ด้านการท่องเที่ยว เพื่อเก็บรวบรวมรายละเอียดและคำอธิบายของแต่ละชุด ข้อมูลในข้อ 1
1.3 จัดทำบริการสารสนเทศ เพื่อการท่องเที่ยว (Tourism Information Services) เช่น บทวิเคราะห์ข้อมูลผ่านหน้าจอแสดงผล (Dashboard) และการประมวลผลข้อมูลผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent) เป็นต้น เพื่อให้หน่วยงาน ที่ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความเข้าใจฉบับนี้ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
1.4 บูรณาการข้อมูลสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวอย่างการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการท่องเที่ยวระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ข้อมูล สำหรับงานด้านนโยบายของหน่วยงานทุกฝ่าย ที่เข้าร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความเข้าใจฉบับ

ข้อ 2 ขอบเขตความร่วมมือและบทบาทหน้าที่ มีดังนี้.
2.1 ร่วมมือกันเพื่อดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนโครงการ Tourism Data Intelligence Sandbox ในการสำรวจข้อมูลและจัดทำต้นแบบรายการข้อมูล ด้านการท่องเที่ยว (Data Catalog) เพื่อเป็นตัวอย่าง สำหรับการจัดทำรายการ ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในข้อ 1.2 อันจะช่วยในการจัดทำระบบคลังข้อมูลและบริการข้อมูลกลางด้านการท่องเที่ยวตามข้อ 1.1 ต่อไป
2.2 สนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อออกแบบระบบที่เหมาะสม สำหรับแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลท่องเที่ยว ทั้งจากภาครัฐและเอกชน เช่น ข้อมูลโรงแรม ข้อมูลพฤติกรรมนักท่องเที่ยว ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ และสร้างเป็นฐานข้อมูลกลาง ที่สามารถให้บริการข้อมูลท่องเที่ยวได้หลากหลายรูปแบบ ทางกรมอุตุนิยมวิทยาสนับสนุนข้อมูลที่สามารถเปิดให้เข้าถึงได้ โดยระบบ API ใน website ของกรมอุตุนิยมวิทยา

2.3 พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (Arificial Intelligent) ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาปัจจัยเชิงลึก (Insight) ของการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปตามข้อ 1.3 เช่น การวิเคราะห์พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ ๆ หรือการติดตามการฟื้นฟูการท่องเที่ยว

2.4 จัดทำ Dashboard ในการนำเสนอข้อมูลเชิงลึก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิด การเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูล ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เป็นไปอย่าง รวดเร็ว ปลอดภัย และเป็นระบบ อีกทั้งยังเป็นการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเหลือการทำงานของผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวไทย ให้สามารถเข้าใจพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวและสามารถวางแผนต้อนรับนักท่องเที่ยวได้ดียิ่งขึ้น

2.5 ร่วมมือหรือดำเนินกิจกรรมหรือโครงการอื่น ๆตามที่หน่วยงานทุกฝ่ายเห็นสมควร โดยอยู่ภายใต้ระเบียบและข้อบังคับของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 3 การสนับสนุนงบประมาณภายใต้บันทึกข้อตกลงความเข้าใจนี้ ทุกฝ่ายจะรับผิดชอบงบประมาณค่าใช้จ่ายภายในขอบเขตการดำเนินงาน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย กรณีการคำเนินการหรือกิจกรรมใดที่ต้องการการสนับสนุนงบประมาณหรือค่าใช้จ่ายร่วมกัน ให้ทุกฝ่ายพิจารณาร่วมกันและทำเป็นหนังสือตกลงร่วมกันเป็นรายกรณี

 

ข้อ 4 ระยะเวลาในความร่วมมือหน่วยงานร่วมลงนามตกลงให้ความร่วมมือในการดำเนินการ โครงการ Tourism Data Intelligence Sandbox เปีนระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ทำบันทึกข้อตกลงความเข้าใจนี้เป็นต้นไป บันทึกข้อตกลงความเข้าใจนี้ จัดทำขึ้น 5 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันทุกประการ โดยหน่วยงานทุกฝ่ายได้อ่านและเข้าใจข้อความในบันทึกข้อตกลงความเข้าใจฉบับนี้ โดยละเอียดแล้วเห็นว่าควรเป็นไปตามเจตนารมณ์ทุกประการ จึงได้ลงลายมือชื่อร่วมกันไว้เป็น
สำคัญต่อหน้าพยาน และหน่วยงานทุกฝ่ายต่างถือไว้ฝ่ายละฉบับ และให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามร่วมกัน โดยได้จัดส่งสำเนาอีกฉบับ ให้กับทางผู้เข้าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ซึ่ง ประกอบด้วย สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต และ กรมอุตุนิยมวิทยา เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ทราบถึงการเข้าร่วมโครงการของหน่วยงานที่เพิ่มเข้ามาข้างต้น

 

ข้อ 5 การแก้ไขบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขบันทึกข้อตกลงนี้ ให้ทำเป็นบันทึกข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติม และลงนามผูกพัน โดยผู้มีอำนาจลงนามผูกพันของแต่ละฝ่าย

 

ข้อ 6 การยกเลิกบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีความประสงค์ จะยกเลิกบันทึกข้อตกลงความเข้าใจฉบับนี้ จะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนที่บันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือนี้สิ้นสุดลง ไม่ว่าบันทึกข้ ตกลงความเข้าใจจะสิ้นสุดลงด้วยกรณีใด ไม่มีผลเป็นการยกเลิกกิจกรรมภายใต้บันทึกข้อตกลงความเข้าใจนี้ ทั้งที่ได้ดำเนินการไปแล้ว หรือที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ว้นแต่ทุกฝ่ายจะตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรให้เป็นอย่างอื่น

 

ข้อ 7 การประชาสัมพันธ์แต่ละฝ่ายสามารถประชาสัมพันธ์ เผยเพร่ โฆษณา หรือให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการและ/หรือความร่วมมือในการดำเนินงาน โครงการภายใต้บันทึกข้อตกลงความเข้าใจฉบับนี้ได้ ตราบเท่าที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อีกฝ่าย และไม่ต้องแจ้งหรือได้รับความยินยอมจากฝ่ายที่เหลือก่อน ทั้งนี้ ในการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ โฆษณา หรือ ให้ข้อมูลข่าวสารตังกล่าวจะต้องแสดงข้อความหรือสัญลักษณ์อื่นใดให้ปรากฏอย่างชัดเจนว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่เกิดขึ้นภายใต้ บันทึกข้อตกลงความเข้าใจของทั้งสองฝ่าย และแสดงถึงความเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาในผลงานอย่างชัดเจนด้วย เว้นแต่จะมีช้อตกลงเป็นหนังสือไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งสองฝ่ายไม่มีสิทธิที่จะอ้างชื่อของอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด นอกจากการประชาสัมพันธ์เผยแพร่โฆษณา หรือให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความร่วมมือในการดำเนินงานหรือผลการดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความเข้าใจฉบับนี้ ตามที่กำหนดในวรรคหนึ่ง

 

ข้อ 8 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กรณีที่บันทึกข้อตกลงนี้ มีการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูล เช่น ข้อมูลพฤติกรรมนักท่องเที่ยว ข้อมูลส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว ตลอดจนข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจฉบับนี้ ให้ทั้งสองฝ่าย (หมายเหตุ ที่ระบุเป็นสองฝ่าย เนื่องจากว่า เป็นการลงนามร่วมกันของ สองฝ่ายเท่านั้น) คำเนินการตามมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ข้อ 9 การรักษาข้อมูลความลับบรรคาข้อมูลที่ทั้งสองฝ่ายได้รับจากการดำเนินการตามบันทึก ข้อตกลงฉบับนี้ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดให้ถือว่าเป็นความลับร่วมกันซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องนำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้บรรถวัตถุประสงค์ตามบันทึกข้อตกลงฉบับนี้เท่านั้น โคยจะไม่เปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่น หรือต่อสาธารณชนแม้ว่าบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ จะสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ก็ตามเว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากอีกฝ่ายหนึ่งหรือเป็นข้อมูลที่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนอยู่แล้ว หรือเป็นกรณีจำเป็นจะต้องเปิดเผยตามผลบังคับของกฎหมาย หรือจากผู้มีอำนาจรัฐ ซึ่งจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าก่อนการเปิดเผยข้อมูล