จังหวัดภูเก็ตประชุมเตรียมความพร้อม​ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำช่วงฤดูแล้งปี​ 65

จังหวัดภูเก็ตประชุมเตรียมความพร้อม​ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำช่วงฤดูแล้งปี​ 65

              วันที่​ 3 ก.พ.65​ ณ ห้องประชุมสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต ศาลากลางจังหวัดภูเก็ตหลังใหม่ นายอนุภาพ รอดขวัญ ยอดระบำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุม​ เพื่อให้การเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำช่วงฤดูแล้งของจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่1/2565 โดยมี นายอุดมพร กาญจน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต พร้อมส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม

            นายอานุภาพ รอดขวัญยอดระบำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า​ ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565​ รับทราบมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี​2564​/2565​ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงปี 2565​ โดยได้มอบนโยบายการปฏิบัติงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ รวมถึงจังหวัดภูเก็ต มีหนังสือที่ กค 0017.2/ว​ 9634 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2564​ เรื่องการเตรียมความพร้อม การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำช่วงฤดูแล้ง โดยมอบหมายให้​ นายอำเภอ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ประสานกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต ในการจัดทำแผนเผชิญเหตุภัยแล้ง/แผนการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค/แผนการจ่ายน้ำในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยให้ บูรณาการเครื่องมือ เครื่องใช้ บุคลากร และวิธีปฏิบัติ ให้เกิดความพร้อมอยู่เสมอซึ่งมีการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2564แล้ว

              นอกจากนี้​ ยังได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำและทบทวนแผนเผชิญเหตุภัยแล้ง พ.ศ. 2565 โดยการคาดการณ์สภาพอากาศสถานการณ์และแนวโน้มด้านภัยแล้งโดยสรุปปี พ.ศ.2564 ค่าเฉลี่ยฝนตกน้อยลงและสถานการณ์น้ำในจังหวัดภูเก็ตที่มีอ่างเก็บน้ำหลักจำนวน3อ่างพบว่าปริมาณน้ำที่กักเก็บอยู่ภายในอ่างทั้ง3อ่างมีปริมาณน้ำที่มากอยู่ ทำให้แม้ช่วงนี้จะเข้าสู่ฤดูแล้งปัญหาการขาดแคลนน้ำก็ไม่น่าวิตกกังวลแต่อย่างไร

              ทั้งนี้​ แม้สถานการณ์ดังกล่าวยังไม่น่าเป็นปัญหาในปีนี้แต่ก็ต้องมีการวางแผนในการเตรียมความพร้อมในการรองรับปัญหาภัยแล้ง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่