“ซีไนน์” เผยข้อมูลวิกฤตท่องเที่ยวภูเก็ตช่วงไฮซีซั่นปีนี้ยังทรุดหนัก หลังนโยบายรัฐล่ม!

“ซีไนน์” เผยข้อมูลวิกฤตท่องเที่ยวภูเก็ตช่วงไฮซีซั่นปีนี้ยังทรุดหนัก หลังนโยบายรัฐล่ม!

        ซีไนน์ โฮเทลเวิร์คส์ (C9 Hotelworks) บริษัทผู้นำด้านการวิจัยธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการ เปิดเผยข้อมูลคาดการณ์เศรษฐกิจการท่องเที่ยวของ ภูเก็ต ช่วงไฮซีซั่นปี 2563 นี้ ที่ยังคงไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ อันเนื่องมากจากการรื้อถอน ภูเก็ตโมเดล (Phuket Model) ของภาครัฐ และการให้ความสำคัญของรัฐบาลในการใช้กรุงเทพฯ เป็นประตูสู่นานาชาติเพียงแห่งเดียว ส่งผลกระทบมหาศาลต่อธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการ รวมถึงเศรษฐกิจท้องถิ่นในวงกว้าง

         ซีไนน์ โฮเทลเวิร์คส์ ระบุข้อมูลเปรียบเทียบปัจจุบันกับปีที่ผ่านมาว่า จากข้อมูลของท่าอากาศยานไทย (ทอท.) พบว่า ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีผู้โดยสาร 121,530 คนเดินทางมายังภูเก็ตโดยเครื่องบิน หรือมากกว่า 4,000 คนต่อวัน โดยส่วนหนึ่งของจำนวนนี้รวมผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่นและนักธุรกิจ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลกับปี 2562 ที่รวมนักเดินทางต่างชาติ เข้ามายังเกาะภูเก็ตสูงกว่าปี 2563 ถึง 5 เท่า ในขณะที่ช่วงฤดูท่องเที่ยว หรือ ไฮซีซั่น (High Season) ที่ปกติตัวเลขจะพุ่งสูงขึ้นในช่วง 6 เดือน (เดือนพฤศจิกายน – เดือนเมษายน) ซึ่งช่วงไฮซีซั่นของปีที่แล้วมีมากกว่า 1 ใน 3 ของอุปสงค์ต่อปี จำนวนผู้โดยสารขาเข้าทั้งในและต่างประเทศที่สนามบินมีจำนวนมากกว่า 9 ล้านคนในปี 2562 สะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่ว่า นักท่องเที่ยวกว่าครึ่งหนึ่งของภูเก็ตหลั่งไหลเข้ามาในช่วงหกเดือนนี้ และช่วงฤดูท่องเที่ยวเป็นผลกระทบที่สำคัญทางเศรษฐกิจของภูเก็ต

         ด้านข้อมูลอัตราการเข้าพักของนักท่องเที่ยว ในปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในส่วนประสมทางการตลาด โดยที่ระยะเวลาการเข้าพักโดยเฉลี่ยของโรงแรมที่นำโดยลูกค้ากลุ่มคนในประเทศ (domestic market) ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1.8 วัน ในขณะที่ผ่านมานักเดินทางชาวต่างชาติจะมีจำนวนมากกว่าสองเท่า สิ่งนี้หมายความว่า อุปสงค์ของโรงแรมจะลดลงอย่างมากในภาคที่พักทั้งหมดของเกาะ ทั้งนี้ ปัจจุบันอัตราการเข้าพักเฉลี่ยรายวันอยู่ที่ 10% และพุ่งสูงขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ในโรงแรมระดับบน เนื่องจากนักเดินทางในประเทศให้ความสนใจกับข้อเสนอที่ถูกลงของโรงแรมระดับบนหรือลักชัวรี่ ส่งผลให้ที่พักในระดับกลางและชั้นประหยัด (budget hotel) ที่เป็นตลาดที่ใหญ่กว่า ประสบปัญหาจำนวนผู้เข้าพักลดลง รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กและธุรกิจการท่องเที่ยวในท้องถิ่นยังทรุดหนักอีกด้วย

         บิล บาร์เน็ต กรรมการผู้จัดการ ซีไนน์โฮเทลเวิร์คส์ (C9 Hotelworks) “ตอนนี้เกือบสองเดือนแล้วในกรอบเวลาดังกล่าว สิ่งที่เห็นได้ชัดคือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะรักษาช่วงไฮซีซั่น เจ้าของโรงแรมในปี 2564 จะถูกบังคับให้ต่อสู้กับเดือนที่มีการซื้อขายต่ำที่สุดในอดีตของปีภายในเดือนพฤษภาคม ด้วยแนวโน้มที่น่ากลัวเหล่านี้ เรากำลังคาดการณ์การสูญเสียงานจำนวนมาก และการปิดกิจการเนื่องจากไม่มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ที่เกิดการระบาด ซึ่งความต้องการภายในประเทศที่ถูกจำกัดก็ไม่สอดคล้องการจำนวนอุปทานในภูเก็ต ซึ่งมี จำนวนที่พักที่จดทะเบียนในปัจจุบันและยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมีขนาด 90,267 ห้องในโรงแรมและสถานประกอบการท่องเที่ยว 1,773 แห่ง ตั้งแต่โครงการระดับกลาง ระดับบน และลักซัวรี่ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 25% ของจำนวนห้องทั้งหมด”

         อนึ่ง ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการโรงแรมหลายแห่งในภูเก็ตได้ตั้งความหวังในช่วงไฮซีซั่นไว้ที่ ภูเก็ตโมเดลที่ขณะนี้ถูกยกเลิกไปแล้วนั้น เพื่อเปิดทางให้กับวีซ่านักท่องเที่ยวพิเศษ (STV) ซึ่งมุ่งเป้าไปที่นักท่องเที่ยวที่พำนักระยะยาว หรือกลุ่มนักเที่ยวเที่ยวจากตลาด “Snowbird” ในฤดูหนาวจากยุโรปเหนือและรัสเซีย หลายโรงแรมในภูเก็ตจึงเบนเข็มเข้าสู่โปรแกรม Alternative State Quarantine (ASQ) โดยโรงแรมในภูเก็ต 17 แห่งได้รับการอนุมัติ ขณะที่ 21 แห่งอยู่ระหว่างดำเนินการพิจารณา โดยผู้ประกอบการเหล่านี้ต่างดำเนินการทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาในการทำให้ที่พักมีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับ ASQ ก่อนที่โครงการดังกล่าวถูกปิดตัวลงในภูเก็ตอีกครั้งเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลไทยได้กำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นจุดเข้าออกเพียงแห่งเดียวสำหรับผู้เดินทางจากต่างประเทศในจำนวนจำกัด

         บิล บาร์เน็ต แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ไม่ชัดเจนคือตรรกะของรัฐบาลต่อนโยบายการรื้อถอนโครงการฟื้นฟูการท่องเที่ยวที่สำคัญของเกาะภูเก็ต อย่าง “ภูเก็ตโมเดล” ซึ่งในที่สุดก็ล้มเหลวในการเปิดตัว ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องได้รับความเชื่อมั่นจากมาตรฐานสากล เช่น มัลดีฟส์ เกาะที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเช่นเดียวกับภูเก็ต ซึ่งในเดือนตุลาคมจุดหมายปลายทางดังกล่าวมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึง 21,514 คน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน (ข้อมูลจากกระทรวงการท่องเที่ยวมัลดีฟส์) เกาะใกล้เคียงอีกแห่งหนึ่ง ได้แก่ สิงคโปร์ มีกำหนดจะเปิด Overseas Travel Bubble ภายในเดือนนี้ไปยังฮ่องกง Hong Kong (SAR)

         “การสูญเสียช่วงไฮซีซั่นนี้จะยิ่งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเจ้าของธุรกิจของเกาะและการดำรงชีวิตของผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่ ด้วยขนาดที่แท้จริงของจำนวนห้องพักของโรงแรมจึงไม่สามารถอยู่ได้เฉพาะกับนักท่องเที่ยวในประเทศ (domestic market) ราคาตั๋วเครื่องบินที่ถูกลง หรือโดยการเพิ่มวันหยุดราชการ!”