ท่าอากาศยานภูเก็ด ทำบุญครบรอบปีที่ 35 สู่การพัฒนาไม่หยุดยั้ง พร้อมพัฒนารองรับนักท่องเที่ยว 18 ล้านคนต่อปี และพร้อมก้าวเข้าสู่การดำเนินงานอย่างมีคุณภาพ ภายใต้คำขวัญ “ปลอดภัยคือมาตรฐาน บริการคือหัวใจ”

ท่าอากาศยานภูเก็ด ทำบุญครบรอบปีที่ 35 สู่การพัฒนาไม่หยุดยั้ง พร้อมพัฒนารองรับนักท่องเที่ยว 18 ล้านคนต่อปี และพร้อมก้าวเข้าสู่การดำเนินงานอย่างมีคุณภาพ ภายใต้คำขวัญ “ปลอดภัยคือมาตรฐาน บริการคือหัวใจ”

               วันที่ 6 ตุลาคม 2566 ที่อาคารสำนักงานท่าอากาศยานภูเก็ต นายมนต์ชัย ตะโหนด ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต นำทีมคณะผู้บริหารท่าอากาศยานภูเก็ต พนักงาน เจ้าหน้าที่ และเครือข่ายท่าอากาศยานภูเก็ต ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสื่อมวลชน ทำบุญเนื่องในโอกาสครบรอบการดำเนินงานทำอากาศยานภูเก็ตสู่ปีที่ 35 ซึ่งตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม ของทุกปี โดยท่าอากาศยานภูเก็ด ดำเนินการภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยาน เพื่อมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพการให้บริการ และรักษาความปลอดภัยในระดับสากล

               นายมนต์ชัย ตะโหนด ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต กล่าวว่า ปัจจุบันท่าอากาศยานภูเก็ต จัดเป็นทำอากาศยานศูนย์กลางรอง (Secondary Hub Airport) ภายใต้แนวคิด “Prime Destination through Secondary Hub Airport” เพื่อเป็นประตูหลักสู่แหล่งอารยธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามทางภาคใต้ฝั่งอันดามันของประเทศไทย

               โดยในปีงบประมาณ 2566 มีจำนวนเที่ยวบินและผู้โดยสารเดินทางผ่านท่าอากาศยานภูเก็ตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเดือนกันยายน 2565 – กันยายน 2566 ที่ผ่านมา มีเที่ยวบินที่ทำการบินเข้า-ออกทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศรวม 86,741 เที่ยวบิน และผู้โดยสารจำนวน 13,606,638 คน สำหรับในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) ของจังหวัดภูเก็ต มีการคาดการณ์จำนวนเที่ยวบินและผู้โดยสาร ระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2566 จะมีเที่ยวบินทำการบินจำนวน 26,000 เที่ยวบิน และผู้โดยสารจำนวนกว่า 4.1 ล้านคน ทั้งนี้ มาตรการยกเว้นการตรวจลงตรา (Visa Exemption) ให้แก่สัญชาติจีนและคาชัคสถาน ยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและภาพรวมด้านการท่องเที่ยวชองจังหวัดภูเก็ต

                 นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2567 ท่าอากาศยานภูเก็ตจะเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามแผนพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ระยะที่ 2 (ปี 2566 – 2570) ซึ่งจะสามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศเพิ่มขึ้นจาก 20 เที่ยวบินต่อชั่วโมง เป็น 25 เที่ยวบินต่อชั่วโมง และสามารถรองรับผู้โดยสารได้ไม่น้อยกว่า 18 ล้านคนต่อปี โดยใช้งบประมาณการก่อสร้างราว 6,000 ล้านบาท โดยโครงการพัฒนาดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มงานหลัก ได้แก่

1) กลุ่มงานเขตการบิน ประกอบด้วย งานขยายหลุมจอดอากาศยาน จำนวน 3 หลุมจอด, งานก่อสร้างลานวางอุปกรณ์ภาคพื้น (Ground Service Equipment GSE) และงานก่อสร้างขยายรั้วรอบเขตการบิน

2) กลุ่มงานอาคารผู้โดยสารและอาคารสนับสนุน ประกอบด้วย งานก่อสร้าง ส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ และงานก่อสร้างทางเชื่อมต่อไปยังกลุ่มอาคารข้างเคียง

3) กลุ่มงานระบบสนับสนุนท่าอากาศยาน หรือระบบสาธารณูปโภค ประกอบด้วย งานก่อสร้างขยายและปรับปรุงระบบจ่ายน้ำประปา, งานปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในท่าอากาศยานภูเก็ต และงานก่อสร้างขยายโรงบำบัดน้ำเสีย โดยจะเริ่มเปิดประกวดราคาหาผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการฯ ภายในต้นปี 2567 และจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนพฤศจิกายน 2567 ใช้ระยะเวลาการก่อสร้าง 3 ปี ซึ่งตามแผนคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2570

               อย่างไรก็ตาม ท่าอากาศยานภูเก็ต มีความพร้อมในการพัฒนาขับเคลื่อน รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้ง รวมทั้งให้ความสำคัญกับการดูแลชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดการเป็นสนามบินที่เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม และเป็นบ้านที่ดีของชุมชน Corporate Citizenship Airport ควบคู่ไปกับการดำเนินงานธุรกิจท่าอากาศยาน และพร้อมก้าวเข้าสู่การดำเนินงานปีที่ 36 อย่างมีคุณภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจและความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการท่าอากาศยาน ภายใต้คำขวัญ “ปลอดภัยคือมาตรฐาน บริการคือหัวใจ”

#ท่าอากาศยานภูเก็ต
#ครบรอบปีที่35
#สู่การพัฒนาไม่หยุดยั้ง