มูลนิธิอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ มาตรวจสถานีอนามัย “ฉลอง”

       คณะกรรมการมูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินี ฉลอง จังหวัดภูเก็ต เผยสร้างขึ้นเมือปี 2483 และได้งบประมาณสร้างเป็นอนามัยใหญ่ปี 2535 อยู่ในพื้นที่ 10 ไร่ ที่ตระกูล “อารีรอบ” บริจาค ปัจจุบันได้สร้างอาคารผู้ป่วยนอกเพิ่มเติม รับผู้ป่วยฉุกเฉิน

       เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2560 ท่านผู้หญิงปรียา  เกษมสันต์ ณ อยุธยา ประธานกรรมการมูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียติ 60 พรรษา นวมินทราชินี พร้อมคณะ ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ที่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ต. ฉลอง อ. เมือง  จ. ภูเก็ต  โดยมีนายธีระ  อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นพ.จิรพันธ์  เต้พันธ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต นายสำราญ  จินดาพล นายกเทศมนตรีตำบลฉลอง ข้าราชการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ อสม.ตำบลฉลอง เข้าร่วม
       นพ.จิรพันธ์  เต้พันธ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่ 543 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 3 อำเภอ 17 ตำบล 92 หมู่บ้าน ประชากรตามทะเบียนราษฎร์ 390,855 คน มีโรงพยาบาลของรัฐ 3 แห่ง โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงมหาดไทย 1 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 4 แห่ง PCU  4 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 20 แห่ง และมีสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ 1 แห่ง

       สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีจังหวัดภูเก็ตมีเนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2483 ในที่ดินบริจาคโดย นายกาว  อารีรอบ ในปี พ.ศ. 2535 ได้รับงบประมาณให้ก่อสร้างเป็นสถานีอนามัยขนาดใหญ่ และยกฐานะเป็นสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินี เปิดให้บริการแก่ประชาชนตำบลฉลอง และพื้นที่ใกล้เคียงจนถึงปัจจุบัน มีเจ้าหน้าที่ประจำ 14 คน รับผิดชอบ 10 หมูบ้าน 7,866 หลังคาเรือน ประชากร 24,479 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99 มีนโยบายการพัฒนาภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน บริการแบบองค์รวม มีส่วนร่วมทุกเครือข่ายเพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชนตำบลฉลอง”
       จังหวัดภูเก็ตมีอัตราตายจากอุบัติเหตุจราจรเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะเขตพื้นที่ตำบลฉลอง เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 8 ราย ป่วยปีละ 380 ราย เนื่องจากสภาพการจราจรติดขัดการส่งต่อผู้ป่วยจากตำบลฉลอง และตำบลใกล้เคียง มายังเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมือง ใช้เวลาเดินทาง 1-2 ชม. กรณีเกิดอุบัติเหตุ ภัยพิบัติฉุกเฉิน ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก หากเข้าถึงการรักษาพยาบาลโดยแพทย์ไม่ทันท่วงที

       จากปัญหาดังกล่าวจึงมีการก่อสร้างอาคารบริการเพิ่มเติมบนเนื้อที่ว่างบริเวนสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ดังนี้ ในปี พ.ศ. 2558 เครือข่ายสุขภาพอำเภอเมืองโดยโรงพยาบาลศูนย์วชิระภูเก็ตใช้เงินบำรุงก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุฉุกเฉินจำนวน 3 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2559 ภาคประชาชนได้ร้องขอให้มีการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมชนแห่งใหม่ขึ้นจำนวน 108 ล้านบาท เพื่อรองรับการดูแลรักษาประชาชน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ในเขตำบลฉลอง ตำบลกะรน ตำบลราไวย์ และตำบลวิชิต
       จากผลการทำประชาพิจารณ์ของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ร่วมกับชุมชนในประเด็นทิศทางการให้บริหารของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิเชิงรุก และงานบริการแพทย์แผนไทยเพื่อให้บริการดูแลประชากรตามกลุ่มวัย โดยคลินิกหมอครอบครัวปี 2563 เชื่อมโยงระบบบริการทุติยภูมิและตติยภูมิในอนาคต

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น