“ร้านคุณแม่จู้” ทุ่มงบ 30 ล้านบาท เพื่อปรับโฉมใหม่ ดึงความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัว ที่โดดเด่น สวยงาม ของจังหวัดภูเก็ต เพื่อส่งต่อให้กับลูกค้าที่มาเยือน

“ร้านคุณแม่จู้” ทุ่มงบ 30 ล้านบาท เพื่อปรับโฉมใหม่

ดึงความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัว ที่โดดเด่น สวยงาม

ของจังหวัดภูเก็ต เพื่อส่งต่อให้กับลูกค้าที่มาเยือน

 

              “The Proudly of Phuket ความภาคภูมิใจของเรา “ร้านคุณแม่จู้” พร้อมแล้วที่จะบอกเล่าเรื่องราวมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดภูเก็ต ผ่านทางผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว และที่โดดเด่น สวยงาม ในรูปแบบของสถาปัตยกรรมอาคาร “ร้านคุณแม่จู้” เพียงแค่หนึ่งคำที่คุณได้ลิ้มลอง กลับแฝงไปด้วยอุดมการณ์ในการปรุง ประกอบกับสูตรลับเฉพาะที่สืบทอดมาอย่างยาวนานกว่า 80 ปี”

              เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ ร้านคุณแม่จู้ ได้กิจกรรม Open House โดย คุณวันฤดี รังสินธุรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการตลาด บริษัท คุณแม่จู้ จำกัด ได้เปิดเผยถึง การจัดกิจกรรม Open House เป็นความตั้งใจเปิดบ้านต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ ที่เข้ามาเยี่ยมชมทั้งตลอดขบวนการผลิต การจัดการจนถึงสินค้า เส้นทางการเดินทางของสินค้าส่งไปถึงมือลูกค้า พร้อมกับพบปะกับแขกผู้มีเกียรติที่เป็นบุคคลสำคัญของเรา มาเพื่อแนะนำติชม และที่สำคัญ คือ ต้องการจะเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งกับชุมชน ในระแวกใกล้เคียง หรือทั้งหมดในทั้งคนภูเก็ตด้วยและสังคมในภายภาคหน้า ซึ่งการจัดงานนี้ได้เล่าขานประวัติความเป็นมาตั้งแต่ “คุณแม่จู้” ท่านยังมีชีวิตอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้ก็ 83 ปีแล้ว  โดยการจัดกิจกรรม Open House เพื่อให้กับ บริษัททัวร์ ที่เกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยวได้เข้ามาเยี่ยมชมเรา ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับเค้าว่า ร้านคุณแม่จู้ เป็นร้านที่ผลิตสินค้าเอง และเป็นสูตรต้นตำหรับของจังหวัดภูเก็ต ไม่ว่าจะเป็นโรงงานที่เค้าสามารถพากลุ่มคณะของเค้าเพื่อมาดูงานได้ เรายังมีหน้าร้านที่พร้อมจะรองรับและสถานที่สวยงาม พร้อมกับอัตลักษณ์ที่โดดเด่นให้คนที่พามา โดยเฉพาะบริษัททัวร์เค้ารู้สึกว่าไม่เสียใจที่เค้าเลือกมาที่นี่ รวมถึงการบริการ หน้าร้าน และห้องน้ำที่เราติดแอร์เย็นฉ่ำและสะอาด รวมถึง มุมคาเฟ่ด้านหน้าที่ไว้บริการ และมีสถานที่จอดรถพร้อม สะอาดสวยงาม

             การจัดกิจกรรม Open House ในครั้งนี้ มีการเยี่ยมชมการผลิตให้ท่านได้เห็นขั้นตอนการทำงานของเรา เส้นทางของสินค้าที่กว่าจะมาถึงหน้าร้านเป็นอย่างไร และที่สำคัญพาเยี่ยมชม “ร้านคุณแม่จู้” ที่ปรับโฉมใหม่ภายใต้อัตลักษณ์สะท้อนวัฒนธรรมของคนภูเก็ต ซึ่งเราได้ปรับโฉมครั้งยิ่งใหญ่และได้เปิดร้านอย่างทางการไป เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา แต่ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาเราก็ดูในเรื่องของความเหมาะสม ความเรียบร้อยภายในร้าน ซึ่งในเดือนสิงหาคมเป็นเดือนของวันแม่ เราจึงคิดว่าจะจัดงาน Grand Opening ในตอนแรก เนื่องงาน Grand Opening จะไม่ได้ประโยชน์กับใครเลยเป็นงานที่จัดมาและจบไป จึงคิดว่าเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งกับตัวเราและแขกผู้มีเกียรติที่เข้ามาจะได้มีโอกาสแนะนำติชม พูดคุยพบปะกัน ก็เลยเกิดเป็นงาน Open House  ขึ้นมา เพื่อให้มีการเยี่ยมชมตลอดกระบวนการผลิตจนถึงหน้าร้าน และได้เยี่ยมชมหน้าร้านที่ได้มีการปรับโฉมใหม่สะท้อนอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมของภูเก็ตทั้งหมด อาทิเช่น สถาปัตยกรรมเฉี่ยนหนา ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวของจังหวัดภูเก็ตเราก็นำมาอยู่ใน “ร้านคุณแม่จู้” (เฉี่ยนหนา เปรียบเสมือน  ปิ่นโตของแม่) เฉี่ยนหนาเปรียบเสมือนปิ่นโตของแม่ที่คุณแม่จู้ได้รังสรรค์พร้อมเสิร์ฟให้กับลูกค้าทุกท่านที่เข้ามาเยือนภายในร้าน รวมถึงสถาปัตยกรรมในเรื่องของ บาบ๋า ยาหย๋า ไม่ว่าจะอยู่ในกล่องบรรจุภัณฑ์หรือตามซุ้มต่างๆที่เราตกแต่งอย่างสวยงาม รวมถึง อัตลักษณ์พื้นถิ่นการตากปลา ปลาหมึก รวมถึงการดำรงค์ชีวิตเป็นอยู่ในอดีตเราก็เอามารวมเป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมที่สะท้อนรวมอยู่ใน “ร้านคุณแม่จู้” ในปัจจุบันนี้

          คุณวันฤดี ยังกล่าวต่อด้วยว่า “ร้านคุณแม่จู้” ยังมีมุมเฉี่ยนหนาคาเฟ่ ตั้งอยู่ด้านหน้านี้ด้วย ซึ่งมุมเฉี่ยนหนาคาเฟ่ ก็คือหนึ่งมุมที่สะท้อนอารยะธรรมภูเก็ต ในยุคเหมืองแร่มาจนถึงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในยุคปัจจุบันนี้ ก็คือเราเปิดเป็นคาเฟ่เพื่อให้คนได้มานั่งพักผ่อนได้มารอก่อนที่จะไปสนามบินด้วย นี่คือจุดประสงค์หลักของการจัดงานในครั้งนี้

             นอกจากนี้ เรายังได้ทุ่มงบประมาณ 30 ล้านบาท เพื่อใช้การการปรับปรุงร้าน และการออกแบบที่สวยงามตามที่เห็นในปัจจุบัน คิดว่าน่าจะทำให้ลูกค้าที่เข้ามาเยือนในร้านเรา สามารถพึงพอใจได้และจะได้เห็นวัฒนธรรมภูเก็ต รวมถึงวัฒนธรรมต่างๆ สถาปัตยกรรมต่างๆ ที่เป็นอะไรที่สวยงามของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายที่ท่านจะเดินทางออกจากจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้ การเลือกเฉี่ยนหนามาตกแต่งร้านเนื่องจากยังไม่มีใครทำและมีความสวยงาม ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่อยู่คู่กับคนภูเก็ต และคนรุ่นหลังๆจะไม่ค่อยรู้จักแล้ว แต่ในงานที่สำคัญๆ งานใหญ่ๆ ก็ยังคงใช้เฉี่ยนหนาใส่ของในงานมงคล เช่น งานหมั่น งานพิธีการสำคัญๆ เพื่อนำไปมอบให้กับผู้ใหญ่ ทั้งนี้เราจึงมองว่าไหนๆแล้วคุณแม่จู้เราก็เดินทางมาด้วยอาหารที่เสิร์ฟให้กับผู้บริโภคอยู่แล้ว เราก็อยากจะหยิบยกอัตลักษณ์เฉี่ยหนามาอยู่ใจกลางร้านของเรา รวมถึงตัวอาคารด้านหน้าร้าน เพื่อตอกย้ำความเป็นคุณแม่จู้ที่เป็นผู้รังสรรค์อาหารและขนมพื้นถิ่น มาให้กับผู้บริโภคตั้งแต่ 80 กว่าปีที่ผ่านมา

             อีกทั้ง ภายในร้านก็ยังมีซุ้มเพอรานากันที่สะท้อน ชุดบาบ๋า ยาหย๋า ด้วยที่อยู่ในร้านสวยงาม ทั้งนี้ภายในร้านยังมีสินค้าเพิ่มขึ้นกว่า 1,000 รายการ ซึ่งนโยบายของทางร้านจะเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆขึ้นทุกปี เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ความนิยมในสินค้าหรือวัย หรือแนวโน้มการเดินทางมาท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นเราจึงมีการปรับสินค้าเพื่อให้ตอบโจทย์ของผู้บริโภค ส่วนสินค้าเดิมเราก็ยังอนุลักษณ์ไว้อยู่ที่ขายดีๆ ที่ยังเป็นสินค้าหลักของเรา และก็จะมีสินค้าใหม่ๆเพิ่มขึ้นมา เพื่อตอบสนองโจทย์กลุ่มลูกค้าใหม่ที่เดินทางเข้ามา ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีสินค้ากว่าหนึ่งพันรายการในร้านคุณแม่จู้ อาทิ แกงไตปลาคุณแม่จู้ ในอดีตตัวบรรจุภัณฑ์จะเป็นกระปุกฝาแดง ปัจจุบันนี้ตามที่เห็นทั้งหมดเราโชว์ให้เห็นว่าเราผ่านนวตกรรมการผลิตใหม่ เป็นแกงไตปลา ที่ผ่านมาตรฐาน GMP มาตรฐานฮาลาล และ ISO 9001 แบบขวดบรรจุแก้ว ถ้ายังไม่เปิดฝาสามารถเก็บไว้นอกตู้เย็นได้นานถึง 1 ปี ตัวนี้ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนของเราที่ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากด้านในสู่ด้านหน้า แกงไตปลาตัวนี้คือตัวเริ่มต้นของเรา ต่อมาน้ำพริกกุ้งเสียบ ถือว่าเป็นหนึ่งอัตลักษณ์ของเราที่โดดเด่นของเราและเป็นที่กล่าวถึง ส่วนสินค้าตัวอื่นอีกตัว คือ เกลือเคยสูตรโบราณที่เป็นน้ำปลาหวานสูตรคนภูเก็ตได้นำเข้ามาหากมาเยือนที่ “ร้านคุณแม่จู้” สินค้าตัวนี้ก็ขาดไม่ได้เช่นกัน เรายังมีตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วย เช่น ขนมโอ๋วเอ๋ว เราใช้เมล็ดโอ้เอ๋ว 100% ผลิตเองจากโรงงานด้านล่างสิ่งที่โดดเด่นของที่นี่คือเราได้ใส่นวตกรรมการผลิตเข้าไปเพื่อให้คงสภาพเดิมของโอ้เอ๋ว  เนื่องจากปกติแล้วโอ้เอ๋วจะคงอยู่ได้ไม่นานจะละลายเป็นน้ำ การรับประทานที่นี่แล้วถูกใจหากต้องการนำกลับไปเป็นของฝากมันเป็นเรื่องยากของนักท่องเที่ยว เราจึงได้พัฒนาที่โรงงานของเราเพื่อให้โอ้เอ๋วคงสภาพเดิมที่เป็นวุ้นนุ่มๆแต่เราไม่ได้ใช้ผงวุ้นเลยเราใช้เมล็ดโอ้เอ๋ว 100%  ซึ่งนวัตกรรมตรงนี้เราก็ได้พัฒนาและทำจนสำเร็จ ทั้งนี้โอ้เอ๋วของเรา จึงสามารถนำไปเป็นของฝากได้และเป็นที่ขายดีมากๆ นักท่องเที่ยวของเราชิมแล้วติดใจก็กลับเข้ามาซื้ออีกและนำกลับไปได้ ซึ่งเราได้ทำทั้งหมด ประมาณ 6-7 รสชาติ ที่เน้นรสชาติแบบพื้นถิ่น มีตั้งแต่รสออริจินอล, เลมอน, น้ำผึ้ง, ลิ้นจี่,สับปะรดภูเก็ต, ชา ฯลฯ นอกจาก โอ้เอ๋วคัพแล้วเรายังมีโอ้เอ๋วแบบออริจินอลที่เสิร์ฟใส่เม็ดแปะก๊วย ถั่วแดง ผลไม้ ซึ่งตั้งขายอยู่บริเวณคีออสด้านหน้า เป็นพื้นที่ที่ต้องการจะรังสรรค์ให้เป็นขนมพื้นถิ่นเลย เช่น เปาล้าง อาโป้ง บ๊ะจ่าง และโอ้เอ๋วแบบออริจินอลด้วย รวมถึงสมูทตี้โอ้เอ๋ว คือ อีกหนึ่งเมนูที่ตอบโจทย์ของคนรุ่นใหม่ๆ โดยเอาผลไม้มาใส่และเพิ่มความสดชื่น ชุ่มฉ่ำ ซึ่งมีจำหน่ายในเฉี่ยนหนาคาเฟ่ของเรา

            โดย ทุกๆปีจะมีการปรับแพ็คเกจ มีการดีไซน์แพ็คเกจ ในการยึดหลักเดิม คือ อัตลักษณ์ของความเป็นภูเก็ต ของฝากภูเก็ต ให้คนที่ซื้อไปเป็นของฝากเอาความเป็นภูเก็ตไปฝาก คือ มาเที่ยวภูเก็ตแล้วก็หยิบเอาความเป็นภูเก็ตไปฝากด้วยนี่คือจุดสำคัญรวมถึงสินค้าใหม่ๆที่เพิ่มขึ้นออกมาทุกปี เราก็จะดีไซน์แพ็คเกจใหม่ๆออกมา เพื่อให้ตอบโจทย์มากที่สุด

           คุณวันฤดี ยังได้เล่าถึง การฝากหน้าร้าน ซึ่งมีการโคกับสถานศึกษา อย่างเช่น มอ., มช.หรือ หน่วยงานอื่นๆที่ให้การสนับสนุนส่งเสริมและเป็นพี่เลี้ยงของเรา เพื่อให้พัฒนาคุณภาพของสินค้า โดยสินค้าของเราจะต้องพร้อมทั้งคุณภาพและรสชาติ ปกติแล้วสินค้าจากภายนอก โดยจากนโยบายของ “ร้านคุณแม่จู้” แล้วเรามีความต้องการจะเพิ่มสินค้าทุกๆปี ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่เราจะผลิตเองทั้งหมด ซึ่งสินค้ากว่า 1,000 รายการนั้น ครึ่งหนึ่งเราผลิตเองทั้งหมด ส่วนอีกครึ่งนึงเป็นสินค้าจากชุมชน จริงๆแล้วอาจจะไม่ใช่ชุมชนในจังหวัดภูเก็ตอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงจังหวัดใกล้เคียงและภาคอื่นๆด้วย เนื่องจากว่าเราอยากเป็น One stop service ในการรวมสินค้า เมื่อมาที่ร้านเรามีครบจบที่เดียว เพราะฉะนั้นสินค้าจากชุมชน หรือ สินค้าจากซัพอื่นๆ ถ้าคิดว่าพร้อมแล้วอยากจะมาเป็นคู่ค้ากับเรา เราพร้อมมากๆที่จะมีโอกาสได้พูดคุยกัน เพราะว่ามันคือเป้าหมายหลักของเราในการหาสินค้า การที่จะต้องไปแสวงหาเองจะคงจะยุ่งยากมาก การที่มาหาเราเองมาเจอกับเรามันง่ายมาก และได้มีการพูดคุยกัน ถ้ามารตฐานของสินค้าได้และตอบโจทย์ของกลุ่มลูกค้าที่จะมาหน้าร้านเรา ทางเราพร้อมอยู่เคียงข้างและขายไปพร้อมๆกัน “ร้านคุณแม่จู้” นอกจากขายหน้าร้านแล้วเรายังมีขาย ตามโมเดิร์นเทค อาทิเช่น บิ๊กซี, ท็อป, โลตัส, แฟมมิลี่มาร์ท, คิงพาวเวอร์, วิลล่ามาร์เก็ต และแพตฟอร์มทางออนไลน์ อาทิ เพจหน้าร้านของ คุณแม่จู้ของฝากเมืองภูเก็ต, line oa, และการเชื่อมโยมกับ ช้อปปิ้งลาซาด้า, ไทยสมาย, นกแอร์ และ ไปรษณีย์ไทย

           “ร้านคุณแม่จู้” มีการปรับโฉมร้านครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อสะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ ความงดงาม วัฒนธรรมต่างๆของจังหวัดภูเก็ต มารวบรวมไว้ที่ร้านคุณแม่จู้  สะท้อนออกมาสวยงามทั้งบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของเรา และร้านคุณแม่จู้เป็นต้นตำหรับทางการผลิตและการจำหน่าย สิ้นค้าพื้นเมืองมานานกว่า 80 ปีแล้ว พร้อมแล้วที่จะต้อนรับนักเดินทางจากทั่วประเทศและทั่วโลกที่ได้เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ก่อนกลับเรียนเชิญทุกท่านได้มาสัมผัสกับอัตลักษณ์ที่งดงามของร้านคุณแม่จู้และสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าของฝากที่เราเป็นผู้ผลิตเอง “ร้านคุณแม่จู้” ตั้งอยู่บนถนนเทพกระษัตรีขาออก ร้านตั้งอยู่ทางซ้ายมือก่อนถึงแยกสนามบิน เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00-19.00 น. สำรับท่านที่ต้องการจะติดต่อสอบถามรายละเอียดก่อน สามารถสอบถามเข้ามาที่หมายเลขโทรศัพท์ 076-621 226, 076-621 227หรือ inbox เข้ามาที่เพจ “คุณแม่จู้ของฝากเมืองภูเก็ต”

           นอกจากนี้ทาง คุณวันฤดี ยังได้เผยถึง ช่วงสถานการณ์ในช่วงโควิดที่ผ่านมา เป็นช่วงที่ยากลำบากแสนเข็ญ หนักกว่าภัยพิบัติสึนามิอีก สิ่งหนึ่งที่เราต้องจัดการคือเบื้องต้นเรื่องผลิตภัณฑ์ของเรา เราจะต้องจัดการอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย คือให้เสียหายน้อยที่สุด ขณะเดียวกันก็สร้างประโยชน์ให้กับคนรอบช้างให้มากที่สุด นั้นก็คือ การกระจายสินค้าออกไป  เริ่มตั้งแต่ 1.การบริจาค การเปิดบ้านเพื่อแจกถุงยังชีพ 2. การจัดมหกรรม 10 บาท คือ การเอาสินค้าทุกอย่างที่อยู่ภายในร้านขายในราคา 10 บาท ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ ขาย 10 บาทเท่านั้น 3. อีกหนึ่งกิจกรรมที่เราจัด คือ การช่วยเหลือชุมชนด้วยการทำข้าวแกง 25 บาท  ในช่วงเริ่มต้นเลย ให้ข้าวไม่อั้น มีน้ำพริกแถม อีกอย่างเราได้ช่วยชุมชนให้มีอาหารได้ทานอิ่มท้องสบายกระเป๋า ขณะเดียวกันครอบครัวของคุณแม่จู้ ลูกหลาน พนักงาน กว่า 200 ชีวิตที่นี่ จะได้ทานอาหารในราคาย่อมเยาด้วยและไม่ต้องเดินทางไปไกล และพนักงานของเราก็จะได้มีงานทำเราเริ่มตั้งแต่การปลูกผักเอง พนักงานของเรามีส่วนหนึ่งที่เราพาไปปลูกผัก ใครมีความถนัดทางด้านการเกษตรเราก็พาไปปลูกผัก ส่วนใครถนัดทางด้านเชฟก็ดึงมาทำอาหาร พนักงานขายก็ดึงมาขายและเสิร์ฟอาหารทางหน้าร้านคอยให้บริการทานอาหารที่นี่ ทางเราไม่มีนโยบายไล่พนักงานออกเราไม่มีนโยบายให้หยุดงาน ยกเว้นว่าเค้าอาสาที่จะกลับบ้านเอง ใครที่สมัครใจอยู่กับเราก็อยู่แต่คุณต้องมีงานทำและช่วยเหลือกันไปจนผ่านวิกฤติรอบที่ 1 รอบที่ 2 จนมาสู่รอบที่ 3 ทุกอย่างมันก็ค่อยๆเริ่มคลี่คลายและก็ดีขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้ง ยังได้การสนับสนุนจากภาครัฐจากโครงการเราเที่ยวด้วยกัน, โครงการคนละครึ่ง, นักท่องเที่ยวเริ่มเดินทางมามันจึงค่อยๆดีขึ้น เม็ดเงินทั้งหลายแหล่ที่เราจัดกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่นขายสินค้าลดราคาก็หมุนเวียนกลับมาสู่พนักงานของร้านแม่จู้และชุมชนด้วย เพราะวัตถุดิบต่างๆ เราก็ซื้อจากชุมชนในระแวกในจังหวัดภูเก็ตทั้งนั้น

                ส่วน กลุ่มลูกค้าหลักๆของแม่จู้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกคือกลุ่มคนไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติ กลุ่มนักท่องเที่ยวคนไทยส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่หน้าร้านเราเกือบ 100% ที่เข้ามา แต่หลังจากในช่วงโควิดนั้น ก็จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามา เช่นกลุ่มเวียดนาม,อินเดีย ที่มาลงที่หน้าร้านเราด้วย แต่ในส่วนของกลุ่มโมเดิร์นเทค ที่กระจ่ายตามสาขา 300 กว่าแห่งทั่วทั้งประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าต่างชาติ ตรงจุดนี้เราถือว่าก็ค่อยๆดีขึ้น ซึ่งในโซนกรุงเทพฯ แถวภาคกลาง ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม เวียดนาม และกลุ่มตะวันออกกลางเยอะขึ้น ก็เริ่มดีขึ้นในช่วงนี้เช่นกัน จะเห็นได้ว่าลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการกับทาง “ร้านคุณแม่จู้” ตั้งแต่ต้นปีมาถึงจนปัจจุบันนี้การใช้จ่ายจากลูกค้าเพิ่มขึ้นประมาณ 10-15% ได้ คือจริงๆแล้วมันเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และในช่วงต้นปีได้รับการสนับสนุนกับโครงการเราเที่ยวด้วยกันก็ดีขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงลดมารตการที่ผ่อนคลายต่างๆลง มีการกระตุ้นให้คนออกไปเที่ยวมากขึ้น มารตการผ่อนคลายเข้าจังหวัดภูเก็ตจากที่ตรึงก็ผ่อนคลายลง นี่คือตัวเสริมให้คนเดินทางมามากขึ้นโดยที่ไม่ต้องระวังอะไรแล้ว รวมถึงการฉีดวัคซีนที่พร้อมสำหรับคนเดินทาง มีความรู้สึกว่าช่วงเวลานี้มันดีขึ้นกว่าช่วงต้นปีประมาณ 10-15%  ส่วนมาร์เก็ตแชร์ของทางด้านบริษัททัวร์ที่เข้ามาที่ร้าน อยู่ประมาณ 70% ส่วนหนึ่งเรามีบริการประชาสัมพันธ์ร้านคุณแม่จู้ให้กับนักท่องเที่ยว เมื่อเข้ามาแล้วจะได้ไม่เกิดความผิดหวัง

            โดยอนาคตที่วางแผลนเอาไว้จะมี 2 โครงการ สำหรับโครงการแรก คือ โครงการในส่วนของเรื่องอาหาร ทำเป็นแนวบูติคแบบศูนย์รวมอาหาร สะท้อนอาหารพื้นถิ่น ที่มีการจัดเป็นเซท หรือแบบตามสั่ง เหมือนร้านอาหารที่สามารถเลือกเมนูได้เลย เพื่อที่จะไว้บริการให้กับนักท่องเที่ยวแบบครบวงจรเลย สำหรับคณะที่ต้องการจะเข้ามาเลือกซื้อสินค้าเราก็พร้อมให้บริการหน้าร้าน ส่วนคณะที่ต้องการจะเข้ามาศึกษาดูงานเราก็จะเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ต้อนรับทั้ง นักเรียน นักศึกษา องค์กรต่างๆ ชาวบ้าน ฯลฯ เพื่อเข้ามาเรียนรู้ ระบบการจัดการตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการผลิตของเรา จนส่งถึงมือลูกค้า หลังจากนั้นถ้าพร้อมรับประทานอาหารที่ร้านเรา เราก็จะเปิดเป็นศูนย์อาหาร เพื่อที่จะให้ตอบโจทย์แบบครบวงจรก่อนเดินทางกลับไป ส่วนโปรเจคที่ 2 คือ อยากจะทำเป็นแหล่งเรียนรู้แบบครบวงจร เปิดเป็นแบบแกลลอรี่ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ชัดเจนและเป็นแบบทางการ ทำเป็นแกลลอรี่ ที่เล่าถึงประวัติความเป็นมาของเส้นทางการเดินทางของอาหารและขนมพื้นถิ่นของจังหวัดภูเก็ตต่อไป คุณวันฤดี ยังได้กล่าวทิ้งท้ายด้วย