อดีตส.ส.“เรวัต”แจ้งนายกฯ ให้ทบทวน ก.ม.ต่างด้าวใหม่ ว่าทำเศรษฐกิจพังทั้งแผ่นดิน

         โปรดเกล้า พรก.ต่างด้าว โทษหนัก ลวงค้าแรงงาน คุก 10 ปี ปรับ 1 ล้านบาทต่อคน ขณะที่ นายเรวัต อารีรอบ อดีต ส.ส.ภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ ทำหนังสือวอนนายกฯ สั่งเปิดลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวใหม่ ระยะยาว พร้อมขอให้ทบทวน พ.ร.ก.ฉบับนี้ใหม่ เหตุกระทบระบบเศรษฐกิจประเทศ ด้านพ่อเมืองภูเก็ต สั่งเร่งประชาสัมพันธ์ การบังคับใช้กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ ให้นายจ้าง สถานประกอบการ และแรงงานต่างด้าว การใช้คนต่างด้าวผิดกฎหมาย ทั้งไม่มีใบอนุญาต ทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ โทษสูงสุดถึง 8 แสนบาทต่อต่างด้าว 1 คน ล่าสุดที่ภูเก็ต หลังกฎหมายประกาศใช้แรงงานเมียนมาครึ่งพันถูกนายจ้างเลิกจ้างกะทันหัน ออกมาร้องขอให้ภาครัฐจัดส่งกลับ คาดว่าจะมีทยอยมาอีกนับพัน

         ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว โดย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร  มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ในกรณีที่คนต่างด้าวไม่ได้ทํางานกับนายจ้างภายในเวลาที่กําหนด ให้นายจ้างรายเดิมจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทางภายใน 7 วันนับแต่วันที่พ้นกําหนด และแจ้งต่ออธิบดี

       นอกจากนี้ ผู้รับอนุญาตให้ทํางานซึ่งประสงค์จะทํางานต่อไปให้ยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาต ทํางานต่อนายทะเบียนก่อนที่ใบอนุญาตทํางานจะสิ้นอายุ  และให้ทํางานไปพลางก่อน จนกว่านายทะเบียนจะมีคําสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทํางาน ซึ่งการต่ออายุใบอนุญาตทํางานให้ต่อได้ครั้งละไม่เกิน 2 ปี โดยให้กระทําเพียงเท่าที่จําเป็น และสําหรับกรณีคนต่างด้าวนั้น ระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทํางานติดต่อกันรวมแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี  และให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในกรมการจัดหางาน ที่เรียกว่า “กองทุนเพื่อการบริหารจัดการ การทํางานของคนต่างด้าว” เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสําหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารจัดการการทํางาน ของคนต่างด้าว โดยมี ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกรรมการ ซึ่งรัฐบาลจัดสรรเงินอุดหนุนให้ตามความจําเป็นหรือเงิน หรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้

         ทั้งนี้ ผู้ใดรับคนต่างด้าวเข้าทํางานโดยฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่  4 แสนบาท ถึง 8 แสนบาทต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน และผู้ใดนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศโดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับ ไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

         อย่างไรก็ตาม ผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ หรือสามารถหาลูกจ้างซึ่งเป็นคนต่างด้าวให้กับนายจ้าง ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 6 แสนบาทถึง 1 ล้านบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน หรือทั้งจําทั้งปรับ และผู้ใดสนับสนุนการกระทําความผิด ไม่ว่าการกระทําของตัวการ จะได้กระทํานอกราชอาณาจักรหรือไม่ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 แสนบาท ถึง 6 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มีผลใช้บังคับวันที่ 23 มิถุนายน 2560)

       ต่อมาเมื่อวันที่ 28 มิถุนายนศกเดียวกัน นายเรวัต อารีรอบ อดีต ส.ส.ภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนได้ทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. เรื่องขอให้แก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดจาก พ.ร.ก.การบริหารการจัดการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 เพราะกฎหมายฉบับนี้เป็นการรวมกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว และกฎหมายการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศไทย โดยระบุเหตุผลว่า เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวในไทยให้มีประสิทธิภาพ

         แต่ปรากฏว่า กฎหมายฉบับนี้ทำอย่างเร่งรีบ เกิดความคลาดเคลื่อน หลงประเด็นจากข้อเท็จจริง และกำหนดโทษสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งโทษจำและปรับ โดยเฉพาะโทษปรับที่ขัดต่อสภาวะเศรษฐกิจ จึงเกรงว่า จะกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่ต้องใช้แรงงานต่างด้าวเป็นฐานล่างกำลังสำคัญในการทำงานที่แรงงานไทยไม่ทำ ซึ่งมีแรงงานต่างด้าวจำนวนมากที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ทั้งนี้เพื่อชะลอความเสียหายทั้งระบบของอุตสากรรมการผลิต การเกษตร และงานบริหาร การท่องเที่ยว และปิดช่องว่างไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้กฎหมายนี้เป็นช่องทางในการรีดไถเงินจากนายจ้างคนไทย และลูกจ้างแรงงานต่างด้าว

         จึงขอเรียกร้องให้นายกฯ พิจารณาสั่งการให้แก้ไขระยะสั้น โดยเปิดการลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวใหม่ ระยะยาว ขอให้ทบทวน พ.ร.ก.ฉบับนี้ใหม่ โดยพิจารณาถึงผลกระทบต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมการลงทุน เพื่อจัดการแก้ไขปัญหา และสามารถจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าวในไทยให้รัดกุมรอบคอบ ไม่สร้างปัญหาซ้ำซ้อนต่อไป

         ต่อมาเมื่อบ่ายวันที่ 29 มิถุนายน 2560 เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมคอซิมบี้ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยจังหวัดภูเก็ตครั้งที่ 6/2560 โดยมี นายสนิท ศรีวิหค รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต, นายถาวรวัฒน์ คงแก้ว ปลัดจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

         นายนรภัทร กล่าวว่า การรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยจังหวัดภูเก็ตเป็นเรื่องสำคัญ ขอให้ทุกหน่วยงานบูรณาการทำงานอย่างเข้มแข็งทั้งนี้พบว่าจากการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนที่ประชาชนส่งเรื่องมาที่ตู้ปณ. 1567 หน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตพบข้อมูลว่าประชาชนร้องเรียนเรื่องสถานประกอบการสถานบันเทิงไม่ปฏิบัติตามกฎหมายมากที่สุด และรองลงมาคือการร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงขอให้ส่วนราชการได้ตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะต้องมีความซื่อสัตย์โปร่งใส และพร้อมให้บริการประชาชนด้วยจิตบริการ

         นายนรภัทร กล่าวอีกว่า ขอให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ตเร่งดำเนินการปรับปรุงศูนย์เตือนภัยพิบัติทั้ง 19 แห่งของจังหวัดภูเก็ตซึ่งพบว่าไม่สามารถใช้การได้จำนวน 10 แห่งขอให้ เร่งประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแก้ไขปรับปรุงให้กลับมาใช้งานได้โดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจเส้นทางอพยพกรณีภัยพิบัติให้ชัดเจนและเป็นปัจจุบัน ทั้งนี้พบว่าบางเส้นทางมีการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นทางตัน และป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ เกิดการชำรุด เสื่อมสภาพตามกาลเวลา

         สำหรับในส่วนของการดำเนินการการจัดระเบียบสังคม ปัญหาเรื่องความมั่นคง จังหวัดภูเก็ตยังพบปัญหาเรื่องยาเสพติดเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือปัญหาแรงงานต่างด้าวและอาวุธปืนส่วนปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานคือกำลังเจ้าหน้าที่ในการออกตรวจมีไม่เพียงพอดังนั้นการออกปฏิบัติการต้องดำเนินการบูรณาการกับหลายภาคส่วนจึงขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนกำลังพลในการ บูรณาการออกตรวจสถานบันเทิง สถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตด้วย

         สำหรับความคืบหน้า การบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.ก. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2560 เป็นต้นไป โดย พ.ร.ก. ฉบับนี้ เป็นการรวมกฎหมาย 2 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ. การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 และ พ.ร.ก. การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559 โดยมีการปรับปรุงกฎหมายให้บทบัญญัติครอบคลุมการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวทั้งระบบ โดยเน้นการให้ความคุ้มครอง อำนวยความสะดวกให้กับทั้งนายจ้างและแรงงานต่างด้าว รวมถึงมีการเพิ่มโทษนายจ้างที่กระทำผิดกฎหมาย พร้อมดึงประชาคมเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

         โดยสาระสำคัญของ พ.ร.ก. ฉบับนี้ คือ การเพิ่มโทษให้มีอัตราที่สูงขึ้น โดยเฉพาะโทษปรับ “นายจ้าง” จากเดิมหากกระทำผิดเกี่ยวกับการจ้างงานแรงงานต่างด้าว ไม่ว่าจะทำผิดต่อแรงงานต่างด้าวกี่คนจะรับรวมเป็นกรณีเดียว แต่ พ.ร.ก. ฉบับนี้ จะปรับนายจ้างแยกตามจำนวนแรงงานต่างด้าวรายคน ทำให้โทษสูงขึ้น เช่น นายจ้างที่จ้างต่างด้าวทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ หรือรับต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือรับต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานกับตนเข้าทำงาน มีโทษปรับตั้งแต่ 400,000 – 800,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน หรือนายจ้างให้คนต่างด้าวทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 400,000 บาท ต่อต่างด้าว 1 คน เป็นต้น

         ส่วนโทษของแรงงานต่างด้าวก็มีเพิ่มขึ้น เช่น คนต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานหรือทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 – 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คนต่างด้าวที่ทำงานจำเป็นและเร่งด่วนแต่ไม่แจ้งนายทะเบียน มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 – 100,000 บาท คนต่างด้าวทำงานแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท

              ในเรื่องนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตได้สั่งการให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแจ้งประชาสัมพันธ์สาระสำคัญของกฎหมายให้นายจ้างสถานประกอบการและแรงงานต่างด้าวได้รับทราบเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

         ล่าสุด เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา ปกครองจังหวัด และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่มูลนิธิ บ้านศรีชุมพาบาล – ศูนย์เรียนรู้คณะศรีชุมพาบาลตั้งอยู่หมู่บ้านหัชนานิเวชน์ ซอย 2/9 ถนนอนุภาษภูเก็ตการ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ตว่าขณะนี้มีแรงงานชาวเมียนมาร์ซึ่งเป็นแรงงานที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน ทั้งชายและหญิงรวมทั้งเด็ก จำนวนมาก ซึ่งมาจากพื้นที่ จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ได้เข้ามาขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิฯให้ช่วยเหลือในการส่งตัวกลับประเทศ

         เนื่องจากบางส่วนถูกนายจ้างเลิกจ้าง และบางส่วนต้องการเดินทางกลับประเทศเนื่องจากลักลอบเข้ามาทำงานโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และกำลังถูกเจ้าหน้าที่จับกุมดำเนินคดีในข้อหาหลบหนีเข้าเมือง หลังพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน ที่ผ่านมา

         โดยมีใจความสำคัญว่า นายจ้างที่รับคนต่างด้าวทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ / รับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน / รับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตทำงานกับตนเข้าทำงานมีโทษปรับตั้งปรับตั้งแต่ 400,000 -800,000 บาทต่อคน ต่างด้าวที่จ้าง 1 คนและนายจ้างให้คนต่างด้าวทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตมีโทษปรับไม่เกิน400,000 บาทต่อคนต่างด้าว 1 คน ทำให้นายจ้างไม่กล้าที่จะจ้างแรงงานเหล่านี้ไว้

         อย่างไรก็ตามหลังจากได้รับการประสานขอความช่วยเหลือ นางศิวพร ฉั่วสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้สั่งการให้ทางปกครองจังหวัด นำโดย นาย ศิวัชฐ์ ระวังกุล ป้องกันจังหวัดภูเก็ต ประสานจัดหาที่พักให้กับแรงงานเหล่านี้เพื่อรอการส่งกลับ และจัดทำประวัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

         โดยขณะนี้แรงงานที่เดินทางมาแล้ว พักอยู่ 2 จุด คือ มูลนิธิบ้านศรีชุมพาบาล-ศูนย์เรียนรู้คณะศรีชุมพาบาล ต.รัษฎา  อ.เมือง  จ.ภูเก็ต  ประมาณ 50 คน และที่ศาลเจ้าท่าเรือ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ประมาณ 300 กว่าคน รวมแรงงานทั้งหมดในขณะนี้มีมากกว่า 400 คน ที่รอการส่งกลับ และคาดว่ายังมีแรงงานที่จะออกมาแสดงตัวเพื่อขอเดินทางกลับบ้านอีกจำนวนมาก

         นายศิวัชฐ์ ระวังกุล ป้องกันจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้เข้าไปดูและและอำนวยความสะดวกให้กับแรงงานเหล่านี้แล้ว ซึ่งเป็นไปตามที่รัฐบาลออกมาประกาศผ่อนผันการบังคับใช้ในบางมาตราไปอีก 120 วัน ให้แรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาทำงาน กลับไปขออนุญาตทำงานให้ถูกต้อง

         ส่วนการส่งกลับแรงงานต่างด้าวนั้น คาดว่าจะเริ่มทยอยส่งแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ตั้งแต่ช่วงเช้าเป็นต้นไป โดยขณะนี้ได้รับการสนับสนุนรถเพื่อใช้ในการขนส่งจากภาคเอกชนแล้วจำนวน 3 คัน ส่วนเรื่องของอาหาร น้ำดื่ม ทางจังหวัดภูเก็ต โดย นางศิวพร ฉั่วสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดได้นำมามอบให้กับแรงงานแล้วบางส่วน

         อย่างไรก็ตามจากการสอบถามผู้ประสานงานของมูลนิธิ ทราบว่า น่าจะมีแรงงานทยอยออกมาแสดงตัวเพื่อขอเดินทางกลับอีกจำนวนมากเนื่องจากกลัวความผิด

          ต่อมา เมื่อช่วงเช้าวันนี้ ( 2 ก.ค.) จังหวัดภูเก็ต โดยผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายนรภัทร ปลอดทอง ว่าที่ ร.ต.วิกรม จากที่ นายอำเภอถลาง นาย ศิวัชฐ์ ระวังกุล ป้องกันจังหวัดภูเก็ต และ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจด่านตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ต ตำรวจภูธรถลาง เจ้าหน้าที่ อส. ร่วมกันอำนวยความสะดวกในการส่งกลับแรงงานชาวเมียนม่าร์ ผิดกฎหมาย ที่ออกแสดงตัวและแจ้งความจำนงขอเดินทางกลับประเทศ

         โดยการเดินทางกลับของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายในวันนี้ เป็นการส่งกลับชุดที่ 2 จำนวน 345 คน โดยก่อนหน้านี้ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตได้มีการส่งกลับแรงงานกลุ่มนี้ไปแล้วประมาณ 60 คน เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ป่านมา ซึ่งแรงงานทั้งหมดออกเดินทางจากศาลเจ้าท่าเรือ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ด้วยรถบัสโดยสารจำนวน 8 คัน เพื่อไปยังด่านตรวจคน จ.ระนอง

         สำหรับการเดินทางกลับของแรงงานดังกล่าวสืบเนื่องจากรัฐบาล บังคับพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่ง พ.ร.ก.ดังกล่าวมีบทลงโทษสูง ผู้ทำผิดมีโทษปรับตั้งแต่ 400,000 -800,000 ในกรณีนายจ้างที่รับคนต่างด้าวทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ / รับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน / รับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตทำงาน ทำให้นายจ้างไม่กล้าที่จะจ้างแรงงานเหล่านี้ไว้ และเลิกจ้างแรงงานทันที

         ประกอบกับทางรัฐบาลได้ออกมาผ่อนผันให้เวลา 120 วัน ให้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายออกมาแสดงตัวและกลับไปทำใบขออนุญาตเข้ามาทำงานให้ถูกต้อง ทำให้แรงงานเถื่อนในพื้นที่ภูเก็ต พังงา กระบี่ ที่ถูกเลิกจ้างและหลบหนีอยู่ตามที่ต่างๆ ได้เข้ามาประสานขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิ บ้านศรีชุมพาบาล – ศูนย์เรียนรู้คณะศรีชุมพาบาล ตั้งอยู่หมู่บ้านหัชนานิเวชน์  ซอย 2/9 ถ.อนุภาษภูเก็ตการ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต เพื่อให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งกลับประเทศ

         แหล่งข่าวรายหนึ่ง กล่าวว่า แรงงานต่างด้าวที่ออกมาแสดงตัวเพื่อให้ส่งกลับประเทศในช่วง 2 – 3 วันที่ผ่านมา ถือว่าเป็นแรงงานเถื่อนเพียงส่วนน้อยเท่านั้น เฉพาะในส่วนของจังหวัดภูเก็ต เชื่อว่ามีแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานโดยไม่ถูกต้องมีไม่น้อยกว่า 10,000 คน สำหรับแรงงานที่มาแสดงตัวในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในกลุ่มของคนงานก่อสร้าง ที่ถูกนายจ้างเลิกจ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้หลบหนีอยู่ตามที่ต่างๆ เมื่อมีการเปิดโอกาสให้แสดงตัวจึงได้ออกมาแจ้งความจำนงจะเดินทางกลับประเทศ

         ต่อมาเมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 3ก.ค.60 นายศิวัชฐ์ ระวังกุล ป้องกันจังหวัดภูเก็ต ได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่มูลนิธิ บ้านศรีชุมพาบาล – ศูนย์เรียนรู้คณะศรีชุมพาบาลตั้งอยู่หมู่บ้านหัชนานิเวชน์ ซอย 2/9 ถนนอนุภาษภูเก็ตการ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต ว่า ขณะนี้มีแรงงานชาวเมียนมาร์ซึ่งเป็นแรงงานที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน ทั้งชายและหญิงรวมทั้ง เด็ก กว่า 150 คน ซึ่งมาจากพื้นที่ทั้ง 3 อำเภอของจังหวัดภูเก็ต ได้เข้ามาขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิฯให้ช่วยเหลือในการส่งตัวกลับประเทศ หลังจากนั้นได้รายงานให้ นางศิวพร ฉั่วสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ทราบ ก่อนจัดส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่คอยอำนวยความสะดวก รวมทั้งประสานจัดหาที่พักให้กับแรงงานเหล่านี้ เพื่อรอการส่งกลับ และจัดทำประวัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

         สำหรับแรงงานต่างด้าวที่มาขอความช่วยเหลือในครั้งนี้ เนื่องจากบางส่วนถูกนายจ้างเลิกจ้าง และบางส่วนต้องการเดินทางกลับประเทศเนื่องจากลักลอบเข้ามาทำงานโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และบางส่วนถูกนายจ้างลอยแพ เพราะกลัวว่าจะถูกเจ้าหน้าที่จับกุมดำเนินคดีในข้อหาหลบหนีเข้าเมือง หลังพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน ที่ผ่านมา

         โดยขณะนี้แรงงานที่เดินทางมาแล้ว พักอยู่ 2 จุด คือ มูลนิธิบ้านศรีชุมพาบาล-ศูนย์เรียนรู้คณะศรีชุมพาบาล ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต ประมาณ 70 คน และ ศูนย์ประสานเครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาภูเก็ต อาคารมิตรไมตรี ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต ประมาณ 80 คนโดยทางจังหวัดภูเก็ตคอยดูแลเรื่องอาหาร ประสานรถสุขาและเรื่องอื่นๆ อีกด้วย

         อย่างไรก็ตาม คาดว่าแรงงานเหล่านี้จะถูกส่งตัวกลับประเทศในวันที่ 5 ก.ค.60 ที่ผ่านมา ซึ่งการหน้านี้ทางจังหวัดภูเก็ตได้ส่งกลับไปแล้วประมาณ 345 คน และคาดว่าหลังจากนี้จะมีแรงงานที่ผิดกฎหมายจะเดินทางมาขอความเหลืออีกเป็นจำนวนมาก

         นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 3 ก.ค.60 ที่ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร กระทรวงแรงงาน  พร้อมด้วย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ครั้งที่ 2/2560 โดยมี พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กองทัพบก กองทัพอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว พ.ศ.2560-2564 และคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว พ.ศ.2560-2564 แนวทางการแก้ไขปัญหาระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการตรวจสัญชาติสิ้นสุดลง มาตรการรองรับภาวการณ์บังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 แนวทางการเดินทางกลับประเทศต้นทางของแรงงานต่างด้าว

         รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีข้อสั่งการดังนี้ 1) ให้กระทรวงแรงงานประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ให้กับนายจ้าง ลูกจ้างต่างด้าว และประชาชนได้รับทราบเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องทั้งในส่วนของนายจ้าง แรงงาน การคุ้มครอง สิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับและบทลงโทษผู้กระทำผิด 2) ให้กระทรวงแรงงานและกระทรวงการต่างประเทศเร่งประสานประเทศต้นทางทั้งการตรวจสัญชาติให้กับแรงงานเพื่อให้เกิดประสิทธิผลและการคุ้มครองที่ได้รับเมื่อผ่านการตรวจสัญชาติเรียบร้อยแล้ว 3) ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขในการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการตรวจสัญชาติสิ้นสุดลง เพื่อประโยชน์ของนายจ้าง แรงงานต่างด้าว และการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว 4) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดในการเดินทางกลับประเทศต้นทางของแรงงานต่างด้าวให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย 5) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามแนวทางที่กำหนด เพื่อให้การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบจากพระราชกำหนดฉบับใหม่

         ด้าน พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังการประชุม กนร. ว่า พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 เป็นการรวมกฎหมาย 2 ฉบับไว้เป็นฉบับเดียวคือ พรบ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551และ พ.ร.ก.การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ.2559 โดย พรบ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551เป็นการควบคุมงานต่างๆ ที่คนต่างด้าวทำได้ ทำไม่ได้ ส่วน พ.ร.ก.การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ.2559 เป็นการควบคุมนายหน้าว่ามีการเอาเปรียบไม่ทำตามสัญญาจ้างหรือไม่  ซึ่งจะเป็นการอุดช่องว่างและปรับปรุงกฎหมายเพื่อจัดระเบียบคุ้มครองและป้องกัน

         นายวิวัฒน์ จิระพันธุ์วานิช ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงผลการประชุมว่าที่ประชุมมีมติดังนี้1) เห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว พ.ศ.2560-2564 ซึ่งมีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานอนุกรรมการ อธิบดีกรมการจัดหางานเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 19 คน และคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว พ.ศ.2560-2564 มีอธิบดีกรมการจัดหางานเป็นประธานอนุกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวเป็นอนุกรรมการและเลขานุการและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 18 คน 2) ตามมติครม. เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2559 กำหนดให้แรงงานต่างด้าวเข้ารับการตรวจสัญชาติ ซึ่งแรงงานฯจะได้รับเอกสารรับรองบุคคล (C I) และต้องไปประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรที่ตรวจคนเข้าเมือง จากนั้นให้ยื่นขอใบอนุญาตทำงานภายใน 15 วัน แต่ปรากฏว่าขณะนี้มีแรงงานกว่า 150,000 คนไม่ได้มายื่นขอใบอนุญาตฯ ภายใน 15 วัน เนื่องจากเหตุผลความจำเป็นต่าง ๆ เช่น เดินทางกลับประเทศช่วงสงกรานต์ หรือรอเอกสารตรวจสุขภาพ เป็นต้น ส่งผลให้แรงงานที่ผ่านการตรวจสัญชาติและมีเอกสารแสดงตนแต่ยังไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาตทำงานต้องกลายเป็นแรงงานผิดกฎหมาย บางส่วนกลับประเทศ บางส่วนอยู่อย่างหลบซ่อน

         จึงมีมติเห็นชอบให้ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการสิ้นสุดระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเมื่อแรงงานต่างด้าวได้รับการตรวจลงตรา (VISA) และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรแล้วไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตทำงานภายใน 15 วัน เป็นกำหนดให้ระยะเวลาการอนุญาตสิ้นสุดลงเมื่อไม่ได้มายื่นขอภายในวันที่ 31 มีนาคม 2561 สำหรับแรงงานในกิจการทั่วไป และภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 สำหรับแรงงานประมงทะเลและแปรรูปสัตว์น้ำ โดยให้สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ภายในระยะเวลา