โครงการเคเบิลคาร์ภูเก็ต ทุ่มงบประมาณ 6,500 ล้านบาท ระหว่าง บริษัท อันดามันพัฒนาเมือง จำกัด ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 13 หน่วยงาน

โครงการเคเบิลคาร์ภูเก็ต ทุ่มงบประมาณ 6,500 ล้านบาท

ระหว่าง บริษัท อันดามันพัฒนาเมือง จำกัด

ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 13 หน่วยงาน

              เมื่อวันที่ 2 .. 66 เวลา 10.30 . ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วย นายก้าน ประชุมพรรณ์ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการส่งเสริมสุขภาพอันดามัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต, นายณชพงศ ประนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต, นางวิรินทร์ตรา ปภากิจยศพัฒน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) คลัตเตอร์อันดามัน และ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดภูเก็ต ภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต และ จังหวัดนครสวรรค์ ร่วมประชุมหารือการให้เอกชนลงทุนในกิจการของรัฐในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมือง เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในพื้นที่ ภายใต้โครงการเคเบิลคาร์ภูเก็ต ทุ่มงบประมาณ 6,500 ล้านบาท ระหว่าง บริษัท อันดามันพัฒนาเมือง จำกัด ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 13 หน่วยงาน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายร่วมกันพัฒนาเมืองด้านโครงสร้างพื้นฐานในเรื่องการพัฒนาระบบขนส่งทางเลือกใหม่ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ EV Bus , EV Boat รวมไปถึงระบบขนส่งเคเบิลคาร์ ที่จะเป็นทั้ง Landmark ทางด้านการท่องเที่ยวแห่งใหม่ และระบบขนถ่ายนักท่องเที่ยวจากพระใหญ่สู่ชายหาดกะตะ ทั้งนี้เพื่อช่วยกระจายรายได้จากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติไปสู่ผู้ประกอบการและ SME ในท้องถิ่น

               สำหรับ ประเด็นในการประชุม ซึ่งจะเป็นการนำเสนอทางด้านกระบวนการด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นเครื่องมือที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของไทยบนพื้นฐานเศรษฐกิจสีเขียว เน้นการมีส่วนร่วม การใช้ศักยภาพของพื้นที่ และกลไกความร่วมมือต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดนครสวรรค์ ทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจทางภาคเหนือตอนล่าง เป็นประตูเชื่อมสู่ภาคเหนือและตั้งอยู่บนแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจแนวเหนือใต้ และแผนเมกะโปรเจกต์ของภาครัฐ เช่น รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ, รถไฟทางคู่สายนครสวรรค์แม่สอด และส่วนต่อขยายของทางรถไฟสายเหนือ และนครสวรรค์ยังถือเป็นพื้นที่ Logistic Hub และเป็น Hub of Cultural Tourism เมืองท่องเที่ยว เอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยจีน เมืองปากน้ำโพ ต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา มีชุมชนชาวจีนใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ และเทศกาลตรุษจีนก็เป็นหนึ่งในเทศกาลใหญ่ของจังหวัด รองจากกรุงเทพฯ และภูเก็ต

            นายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ประธานในที่ประชุม ได้กล่าวว่า ในการประชุมร่วมกันระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐที่จะร่วมลงทุนกันในกิจการของรัฐที่สำคัญในการพัฒนาพื้นที่ภูเก็ต ภูเก็ตตามนโยบายของรัฐบาลเป็นแหล่งรายได้ที่จะสร้างการท่องเที่ยว ท่านนายกรัฐมนตรีพร้อมกับทีมงาน และรัฐมนตรีหลายๆกระทรวงก็ลงมาพื้นที่ภูเก็ตเข้ามาขับเคลื่อนในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน ขับเคลื่อนในเรื่องของการบริหารการจัดการน้ำ การจัดการขยะ รวมถึงการสร้างความมั่นคงปลอดภัย แต่ในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานก็ดี ทั้งเรื่องน้ำและเรื่องขยะก็ดีซึ่งเรื่องต่างๆเหล่านี้ มันเป็นเรื่องที่เป็นภาระกิจของหน่วยงานรัฐที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นส่วนภูมิภาค ส่วนกลาง หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ถ้าได้ภาคเอกชนมาร่วมลงทุนมองว่าจะสามารถที่จะเป็นเครื่องมือในเรื่องของการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่สำคัญยังสามารถประหยัดงบประมาณได้ด้วย

                จากการประชุมในครั้งนี้ จะเริ่มต้นอย่างไร แล้วมีแนวทางใดบ้าง ที่จะคัดเลือกพื้นที่ คัดเลือกโครงการไหนที่จะเป็นจุดโฟกัสมาร่วมกันพัฒนาซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในเรื่องของการทำงานในเรื่องนี้ ส่วนในเรื่องของการพัฒนาพื้นที่ภูเก็ต คงจะไม่หยุดนิ่ง รวมถึงทางด้านในโครงสร้างพื้นฐานที่ภาครัฐทำโครงการอยู่แล้วเริ่มต้นทำร่วมกันระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ เพื่อจะพัฒนาพื้นที่ควบคู่กันไปด้วย ในส่วนการหารือกันเรื่องของการจะมีกระเช้าลอยฟ้า รวมทั้งในเรื่องของการขนส่งมวลชน เรื่องของการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วย ทางภาคเอกชนให้ความสนใจ แต่ก็ขึ้นอยู่กับทางท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น กะตะ กะรน ราไวย์ และป่าตอง ถ้ามีความสนใจและจะทำอย่างไร ก็จะหารือพูดคุยร่วมกันได้อันนี้น่าจะเป็นอีกแนวทาง ทั้งในเรื่องของการช่วยกันส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว และแก้ปัญหาในการคมนาคมขนส่งในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีสภาพการจราจรติดขัด นายอำนวย ได้กล่าวทิ้งท้าย

            นายก้าน ประชุมพรรณ์ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการส่งเสริมสุขภาพอันดามัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กล่าวถึง สำหรับการขับเคลื่อนเรื่องของกระเช้าลอยฟ้า เป็นการขับเคลื่อนกระเช้าลอยฟ้าของภูเก็ตพัฒนาเมืองและอันดามันพัฒนาเมือง เพื่อให้เกิดพื้นที่การท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวใหม่ โดยวางเส้นทางจากพระใหญ่ไปที่ หาดกะตะ ซึ่งตรงช่วงสถานีนี้จึงเป็นสถานีที่สำคัญที่จะทำให้นักท่องเที่ยวที่มีการใช้พื้นที่จากพระใหญ่วันละหมื่นคนอยู่แล้ว โดยเลือกทำจากหาดกะตะขึ้นไปพระใหญ่ใช้ระยะทางเพียงแค่ 1.2 กิโลเมตร จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับพื้นที่จุดนี้ ซึ่งพื้นที่ตรงนี้ต้องให้ทางเทศบาลเป็นเจ้าภาพ แล้วออก TOR ตอนนี้ขั้นตอนของเราได้มีการศึกษาการวิจัยเสร็จแล้ว และมีการทำประชาพิจารณ์พื้นที่เสร็จแล้ว รอเข้าสภาเทศบาลเพื่อส่งไปที่จังหวัด และทางจังหวัดจะมีการประชุมอีกครั้ง ก่อนส่งมาถึงกรมโยธาฯและไปสิ้นสุดเรื่องของการก่อสร้างต่อไป

                   ทั้งนี้ นายก้าน ยังกล่าวต่ออีกว่า ส่วนทางด้านการลงทุน มีบริษัทที่เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการระดมทุนขนส่ง กลุ่มนี้ก็จะเกิดขึ้นด้วยการลงทุนแบบ PPPs (เป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในกิจการของรัฐ) หรือจะเป็นแบบ private ตรงนี้มันจะทำให้มีแนวทางและโครงสร้างทางปฏิบัติ และงานนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของประชาชนเพื่อมาแก้ปัญหาในเรื่องของการท่องเที่ยวขนส่งมวลชน ซึ่งในอนาคตถ้าจะมีการขยายเฟสต่อเนื่องก็น่าจะมี เฟส2 เฟส3 และ เฟส4 ส่วนในอนาคตประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการกระเช้าลอยฟ้า มองว่าถ้าโครงสร้างที่วางไว้อาจจะเป็นการซื้อหุ้นในบริษัท อาทิเช่น สมมุติว่าถ้าสถานีไปปักที่เทศบาลไหน เทศบาลนั้นก็เป็นเจ้าภาพโดยการตั้งคอนเซ็ปต์ไว้ว่าถ้าทุกคนอยากจะซื้อหุ้นในบริษัทที่ทางเทศบาลเป็นเจ้าภาพก็สามารถซื้อหุ้นได้ แต่จะต้องมีทะเบียนบ้านอยู่ที่จ.ภูเก็ต ต้องเกิน 5 ปีขึ้นไปและอยู่ในเขตนั้นๆ ก็จะสามารถซื้อหุ้นได้จะอยู่ในลิมิตที่สามารถอยู่ในพื้นที่นั้น ซึ่งแต่ละเส้นทางก็จะไม่เหมือนกัน โดยบางช่วงความยาว 1.2 กิโลเมตร สำหรับช่วงของพระใหญ่ลงมาที่หาดกะตะ โดยมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ประมาณ 1,800 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าเคเบิลคาร์เป็นเทคโนโลยีใหม่ มีเสาไม่เยอะ ซึ่งเสาต่อเสาเพียงแค่ 9 กิโลเมตร และบางช่วงระยะทางต้นต่อต้น เพียง 1.2 กิโลเมตร ก็แค่ 2 สถานี ซึ่งระยะทางเพียงแค่ 2 เสาเท่านั้น แต่ระยะมันยาวได้ด้วยสายของสลิง เรื่องของการลงทุนสิ่งเหล่านี้อาจจะต้องออกมาเป็น TOR โดยหน่วยงานที่อยากจะลงทุนก็ขึ้นอยู่แต่ละพื้นที่ หรือจะอินเวอร์เตอร์ส่วนกลางก็ได้ ต่างประเทศก็ได้ ซึ่งระบบคล้ายกับการประมูล TOR ตอนนี้มองทำเลหลักๆ คือ พระใหญ่หาดกะตะ จากการสำรวจพื้นที่ภูเก็ตการตั้งสถานนี้ที่สามารถตั้งเสาได้ จำนวน 79.9 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทาง “ฮ่ายเหล็ง” หมายถึง เส้นทางมังกร เพียงแค่ครึ่งเกาะเท่านั้นไม่ไปเกี่ยวข้องกับระบบขนส่งจากสนามบิน ซึ่งระบบจะเป็นการท่องเที่ยวและขนส่งภายใน แบบตีตั๋วไปราคา 150 บาท/เที่ยว/คน และ ขากลับราคา 150 บาท/เที่ยว/คน ถ้าขับรถมาเองค่าน้ำมัน ประมาณ 300-400 บาท คือ ถ้านั่งกระเช้าลอยฟ้ายังได้ชมวิวสวยไปด้วย แล้วก็ไปลงจอดที่สถานีต่างๆได้ ซึ่งกระเช้าลอยฟ้า คือเป็นแนวความคิดที่จะเกิดขึ้น แต่ว่าทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตรงนี้น่าจะเป็นจุดที่จะทำให้ภูเก็ตโตแบบยั่งยืนต่ออีกด้วย